วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

plant and wildlife of thailand

1. Biomes
2. ป่าไม้
- ความหมาย และชนิดของป่าไม้
- คุณค่าและความสำคัญของป่าไม้
- ปัจจัยควบคุมการแพร่กระจาย
- สาเหตุการลดลงของป่าไม้
- การอนุรักษ์ป่าไม้
- ปัญหาการอนุรักษ์ป่าไม้
- แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้
3. สัตว์ป่าในประเทศไทย
............................................................................
biomes (ชีวนิเวศ) = เขตหรือถิ่นที่สิ่งมีชีวิตมาอยู่รวมกันภายใต้สภาวะแวดล้อมใดสภาวะหนึ่งโดยเฉพาะ แบ่งได้ 3 เขตด้วยกัน ดังนี้
1. ชีวนิเวศในเขตหนาว (Cold region biomes) ได้แก่
- ชีวนิเวศแบบทุนดรา
- ชีวนิเวศแบบป่าสนในเขตหนาว
2. ชีวนิเวศในเขตอบอุ่น (Temperate region biomes) ได้แก่
- ชีวนิเวศแบบป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น
- ชีวนิเวศแบบทุ่งหญ้าในเขตอบอุ่น
- ชีวนิเวศแบบทะเลทราย
3. ชีวนิเวศในเขตร้อน (Tropical region biomes) ได้แก่
- ชีวนิเวศแบบป่าดงดิบชื้น
- ชีวนิเวศแบบป่าผลัดใบ
- ชีวนิเวศแบบทุ่งหญ้าและป่าทุ่ง
ป่าไม้ (Forest) คือ บริเวณที่มีต้นไม้ซึ่งมีความสูงไม่น้อยกว่า 5 เมตร และมีเรือนยอดปกคลุมพื้นที่มากกว่า 10% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยอาจมีไผ่รวมอยู่ด้วยและต้องมีสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช สัตว์และดินในสภาพธรรมชาติ และเป็นพื้นที่ปราศจากการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร
หรือ หมายถึง สังคมของต้นไม้และสมาชิกอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และปกคลุมเนื้อที่กว้างใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากอากาศ น้ำและแร่ธาตุในดิน เพื่อการเจริญเติบโตและมีการสืบพันธ์ของตนเอง ทั้งให้ผลผลิตและบริการที่จำเป็นแก่มนุษย์
ป่าไม้ของไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ป่าดงดิบ หรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest) หมายถึง ป่าที่ประกอบด้วยต้นไม้ที่ใบเขียวชอุ่มตลอดปี ซึ่งพบประมาณ 30 % ของพื้นที่ป่าทั้งหมด แบ่งได้ 4 ชนิดด้วยกัน
1.1 ป่าดิบเมืองร้อน เป็นป่าที่อยู่ในเขตลมมรสุมผัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ได้แก่
- ป่าดงดิบชื้น พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ของประเทศ ที่มีระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับ 100 เมตร มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้ที่พบได้แก่ พวกไม้ยาง ปาล์ม หวาย ไผ่และเถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ
- ป่าดงดิบแล้ง พบบริเวณที่ราบและหุบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 - 500 เมตร มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 - 2,000 มิลลิเมตรต่อปี มีพรรณไม้หลักมากชนิด ได้แก่ กระบาก ยางนา ยางแดง ตะเคียนหิน เต็งตานี เป็นต้น และพืชชั้นล่างพวก หวาย ปาล์ม ขิง ข่า แต่ไม่หนาแน่นมาก
- ป่าดงดิบเขา สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป พบกระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ มีปริมาณน้ำฝน 1,500 - 2,000 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้หลักค่อนข้างจำกัด เช่น พืชวงศ์ก่อ ทะโล้ ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง พญาไม้ สนสามพันปี
1.2 ป่าสน กระจายเป็นหย่อม ๆ ทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดัน้ำทะเล 200 - 1,600 เมตร และมีปริมาณน้ำฝน 1,000 - 1,500 มิลลิเมตร มีสนสองใบและสนสามใบเป็นหลัก พืชชั้นล่างพวกหญ้า
1.3 ป่าบึงหรือป่าพรุ พบตามที่ราบลุ่มน้ำขังและตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลน
- ป่าพรุ เป็นป่าตามที่ลุ่มที่มีน้ำขังเสมอ อยู่ระดับเดียวกับน้ำทะเล มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ปริมาณน้ำฝน 2,100 - 2,600 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนใหญ่พบทางภาคใต้ของประเทศ พรรณไม้ที่พบได้แก พวกมะฮัง สะเตียว ยากา ตารา อ้ายบ่าว หว้า ช้างไห้ ตีนเป็ดแดง จิกนม เป็นต้น และพืชชั้นล่างพวกปาล์ม
- ป่ชายเลน พบตามชายฝั่งที่มีดินเลนสะสมและขึ้นเป็นกลุ่มก้อน พบพรรณไม้ 70 ชนิด ได้แก่ โกงกางและพวกแสม
1.4 ป่าชายหาด เป็นป่าตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเป็นกรวด ทรายและโขดหิน มีพรรณไม้น้อยชนิดและผิดแผกไปจากป่าอื่น

ไม่มีความคิดเห็น: